https://images.unsplash.com/photo-1524678714210-9917a6c619c2?ixlib=rb-1.2.1&q=85&fm=jpg&crop=entropy&cs=srgb

ไฮไลท์

<aside> 💡 1. คนที่จับจังหวะตลาดได้แม่นยำ สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าคนที่จับจังหวะตลาดไม่เก่ง และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าคนที่ไม่ได้จับจังหวะตลาด

  1. แต่น้อยคนในโลกนี้จะจับจังหวะตลาดได้แม่นยำ สำหรับคนเหล่านี้ การจับจังหวะตลาดจะทำให้ผลตอบแทนลดลงมากกว่าเพิ่มขึ้น

  2. ยิ่งคุณขายหุ้น ออกจากตลาดไปรอจังหวะลงทุนนานเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็มีสิทธิจะลดลงมากขึ้นเท่านั้น

</aside>

สำหรับคุณ Covid-19 คือโอกาส 10 ปีมีครั้ง ที่ต้องฉกฉวย

คุณตื่นเต้นที่จะได้ซื้อหุ้นดีราคาถูก

คุณมุ่งมั่นวางรากฐานให้พอร์ตเติบโต 10 เด้ง 20 เด้ง ในอีก 10 ปีข้างหน้า

คุณขะมักเขม้นกับการอ่านงบการเงิน ศึกษาธุรกิจ เพื่อเฟ้นหาหุ้นที่จะพาพอร์ตคุณพิชิตเป้าหมายนั้นให้ได้

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคลางแคลงใจ...

จังหวะนี้ซื้อหุ้นได้หรือยัง?

แม้แต่นักลงทุนเก่งๆ อย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือดร. นิเวศน์ ก็ฟันธงขนาดนั้นไม่ได้

อดีตที่ผ่านมา จึงเป็นครูที่ดีที่สุด

และอดีตก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เซียนที่จับจังหวะตลาดหุ้นได้แม่นยำ สามารถสร้างผลตอบแทนสูงกว่าคนที่จับจังหวะไม่แม่น...แน่นอนอยู่แล้ว

แถมในบางกรณี ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงกว่าคนที่ไม่ได้จับจังหวะตลาด หรือคนที่ถือหุ้นผ่านวิกฤตไปโดยไม่ทำอะไรเลยด้วย

แต่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น ไม่ใช่เซียนที่จับจังหวะตลาดได้แม่นยำ

สถิติที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ จะแสดงให้คุณเห็นว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับพอร์ตของคุณ...หากคุณไม่ใช่เซียนที่จับจังหวะได้แม่นยำ แต่พยายามจะจับจังหวะตลาดยามวิกฤต

เปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนช่วงวิกฤตและหลังวิกฤต

แผนภูมิด้านล่างคือผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาด SET ที่รวมเงินปันผลแล้ว หรือ SET Total Return Index ในช่วงวิกฤต Subprime และหลังจากนั้นประมาณ 10 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้แก่

นาย ก ไม่ cut loss ลงทุนฝ่าวิกฤตเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

เริ่มลงทุนในปี 2551 และถือต่อไป 10 ปี จนถึงปี 2560

นางสาว ค รอจนแน่ใจว่าตลาดฟื้นตัวเป็นขาขึ้นแล้วจึงเริ่มลงทุน

เริ่มลงทุนในปี 2553 และถือต่อไป 10 ปี จนถึงปี 2562

นาง ข เริ่มต้นลงทุนหลังวิกฤต ตลาดยังซบเซา ไม่ชัดว่าจะฟื้นตัวหรือลงต่อ

เริ่มลงทุนในปี 2552 และถือต่อไป 10 ปี จนถึงปี 2561

นาย ง cut loss ตอนเกิดวิกฤต รอจนแน่ใจว่าตลาดฟื้นตัวแล้วจึงลงทุนใหม่

ขายหุ้นทิ้งในปี 2551 และกลับมาลงทุนใหม่ในปี 2553

https://s3-us-west-2.amazonaws.com/secure.notion-static.com/81a309a7-b54e-470c-8b98-2a07694c7889/Untitled.png

นาง ข สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด ด้วยการลงทุนหลังวิกฤต ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดซบเซาเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังเข็ดขยาดหวาดกลัว แต่เพราะเข้าใจธรรมชาติของตลาดเป็นอย่างดี นาง ข จึงลงทุนด้วยความมั่นใจ ไม่จำเป็นต้องรอดูสัญญาณการฟื้นตัวใดๆ ทั้งสิ้น