https://s3-us-west-2.amazonaws.com/secure.notion-static.com/f1215f22-8935-4b25-8c4b-84ab38e64111/JWwebinar-24.png

ไฮไลท์

<aside> 💡 1. ถ้าคุณตั้งใจลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว วิกฤตไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะอย่างไร 10 ปีก็จะต้องเจอสักครั้ง

  1. ในยามวิกฤต ไม่ควรให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล และไม่ควรขายหุ้นในช่วงวิกฤตเพื่อกลับมาซื้อยามตลาดฟื้นตัว เพราะหากจับจังหวะผิด ผลตอบแทนจะแพ้ค่าเฉลี่ยของตลาดเยอะมาก สู้อยู่เฉยๆ แล้วได้ผลตอบแทนใกล้เคียง หรือชนะตลาดดีกว่า

  2. เมื่อไหร่สับสน พยายามค้นหาว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะทำอย่างไร เช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ ดร. นิเวศน์ หรือคุณโจ ลูกอีสาน ทำอย่างไรในช่วงเวลาแบบนี้ (คำตอบคือ "ซื้อ")

  3. Jitta Wealth ยังคงเชื่อมั่นในหลักการลงทุนเน้นคุณค่า วิกฤตเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าวันหนึ่งก็จะต้องเกิดขึ้น จึงย้ำเตือนนักลงทุนเสมอว่าอย่าตกใจ อยู่นิ่งที่สุด ทำตามหลักการที่ถูกต้องไปตามปกติ แล้วผลลัพธ์ที่ดีจะมาเอง

</aside>

ดูย้อนหลัง

https://youtu.be/Iz7Y28Haq4Q


สรุปเนื้อหาสัมมนา

CEO Jitta Wealth เปิดพอร์ต เผยประสบการณ์แฮมเบอร์เกอร์

คุณตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Jitta และ Jitta Wealth เริ่มลงทุนในสหรัฐอเมริกาเต็มที่ประมาณปี 2550 เพราะมองว่าหุ้นหลายตัวราคาลงมาต่ำกว่ามูลค่าเยอะมากแล้ว ประจวบเหมาะกับช่วงปลายปี 2550 ตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวลงมาเรื่อยๆ จากวิกฤต Subprime แม้กระทั่งหุ้นหลายตัวที่เป็นหุ้นดี ราคาก็ตกลงมาถึง 50% ทำให้พอร์ตขาดทุนเยอะ แต่นั่นก็เพราะวิกฤตทำให้หุ้นตกทั้งกระดานโดยไม่แยกแยะว่าเป็นหุ้นดีหรือไม่ดี จึงไม่ได้รู้สึกตกใจมาก และยังคงเชื่อมั่นในหลักการของวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก

ถามว่าตอนนั้นคิดหรือเปล่าว่าหุ้นจะตกลงไปอีก? ก็คิด... แต่ก็คิดว่าหุ้นตกมาเยอะมากแล้วเหมือนกัน เลยไม่ซีเรียส ตรงกันข้าม กลับรู้สึกคึกคัก ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่านหนังสือ หาความรู้ ทำการบ้านหาหุ้นอย่างขมักเขม้น และปรับพอร์ตตามปกติ ซึ่งช่วงปรับพอร์ตก็จะเป็นช่วงปลายปี 2551 หลังงบไตรมาสที่ 3 เพิ่งทยอยออกมา และปรับอีกครั้งประมาณมี.ค. 2552 หลังจากงบไตรมาสที่ 4 ออก ปรากฏโชคช่วย ตลาดหุ้นเริ่มฟื้นขึ้นมาพอดี ทำให้จากพอร์ตที่เคยติดลบ 50% ช่วงปี 2551 กลับมาโตประมาณ 400% ในปี 2552 เท่ากับว่า 2 ปีพอร์ตโตขึ้นมาประมาณเท่าตัว

สิ่งที่ยากที่สุดยามวิกฤตคือการคุมตัวเองไม่ให้ขายหุ้น หลายคนมีหุ้นดีอยู่ในมืออยู่แล้ว แค่จังหวะวิกฤตติดลบหนัก พอหุ้นเด้งกลับขึ้นมานิดหน่อยก็เลยรีบขายทิ้งคิดว่าเดี๋ยวมันจะตกใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นการขายหมูครั้งยิ่งใหญ่เลยก็ได้ เพราะหุ้นดีน่าจะยังวิ่งต่อไปจากนั้นได้อีกเยอะ

การถือหุ้นตลอดเวลา ระยะยาวทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการพยายามจับจังหวะตลาดอยู่แล้ว สำหรับคนส่วนใหญ่ (ยกเว้นบางคนที่จับจังหวะตลาดเก่งมากจริงๆ) เพราะเราไม่รู้ว่า 3 หรือ 6 เดือนข้างหน้าตลาดจะขึ้นหรือจะลง ทางที่ดีที่สุดคือควรจะทำตามปกติ ปรับพอร์ตตามปกติ เวลาปรับพอร์ตก็ให้ขายหุ้นตัวหนึ่งที่งบออกมาไม่ค่อยดีแล้ว ไปซื้อหุ้นที่ดีกว่า เป็นหุ้นที่กำลังเติบโต ราคาไม่ได้แพง คุ้มค่าที่จะลงทุน เมื่อตลาดฟื้นกลับมา หุ้นตัวนี้ก็ดีดกลับขึ้นมาเยอะกว่าหุ้นแย่ๆ แค่นี้พอร์ตก็สูงขึ้นมากแล้ว

คุณตราวุทธิ์เล่าถึงความผิดพลาดของตนเองในสมัยวิกฤต Subprime ว่า ตนเองได้ซื้อหุ้น Amazon ไปด้วยต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 60-70 เหรียญสหรัฐฯ แล้วก็ไปขายตอน 160 เหรียญ เพราะรู้สึกหุ้นขึ้นมาแพงกว่ามูลค่ามากแล้ว ซึ่งก็ถือว่าได้กำไรเยอะ แต่หารู้ไม่ว่าวันนี้หุ้นจะขึ้นมาเป็นพันเหรียญ แต่ก็ไม่ได้เสียใจอะไร เพราะตัดสินใจดีที่สุดเท่าที่มีข้อมูล ณ เวลานั้นแล้ว

เบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวไว้ว่า "เราถูกหรือผิด ไม่ได้อยู่ที่คนอื่นบอกว่าเราถูกหรือผิด แต่ด้วยเหตุผลว่าเราถูกหรือผิด" หมายความว่า พอร์ตติดลบ 50% ไม่ได้หมายความว่าเราทำผิด หากหุ้นที่ถือยังดีอยู่ มีการปรับพอร์ตที่ดีที่ถูกต้อง ไม่ทำอะไรพอร์ตก็โตขึ้นเรื่อยๆ เอง แต่ถ้าเหตุผลผิดแต่แรก เช่นไปลงหุ้นปั่น หุ้นพื้นฐานแย่ๆ พอร์ตอาจจะไม่โตกลับมา และอาจจะดำดิ่งยิ่งกว่าเดิมก็ได้ เช่น หุ้นกลุ่มการเงินบางตัวที่คุณตราวุทธิ์ถือช่วงวิกฤตปี 2551 ลงมาขาดทุน 90% ราคาหุ้นไม่ฟื้นกลับเลย ก็ยังดีที่ปรับพอร์ตออกไปได้

ขายหุ้นแล้วซื้อใหม่ตอนตลาดฟื้นตัวดีกว่าหรือไม่

หลายคนสงสัยว่า ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่าตลาดเป็นวัฏจักร จะสามารถหนีวิกฤตออกไปก่อนได้มั้ย แล้วค่อยกลับมาลงทุนใหม่ ผลตอบแทนน่าจะดีกว่าหรือเปล่า

ซึ่งคุณตราวุทธิ์อธิบายว่า มีความเป็นไปได้ หากจับจังหวะตลาดเก่งจริงๆ แต่ถ้าคิดว่าจับจังหวะตลาดไม่ได้ การอยู่เฉยๆ จะให้ผลตอบแทนดีกว่า พิสูจน์ให้ดูจากตัวเลขเปรียบเทียบกัน 5 กรณี

  1. ลงทุนยาวตั้งแต่ 2551-2560 ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปี 11.61%
  2. เริ่มต้นลงทุนหลังวิกฤต ในปี 2552-2561 จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ 17.51%