ฟิสิกส์นิวเคลียร์ และ ฟิสิกส์อนุภาคมูลฐาน คืออะไร?

ฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาสมบัติ องค์ประกอบ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของนิวเคลียสของอะตอม โดยศึกษาอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคในนิวเคลียส (โปรตอนและนิวตรอน) ตลอดจนอันตรกิริยาระหว่างนิวเคลียส (ปฏิกิริยานิวเคลียร์)

https://s3-us-west-2.amazonaws.com/secure.notion-static.com/08b31589-20f9-4a6c-9e80-a4b920d47aa3/Untitled.png

ฟิสิกส์อนุภาคมูลฐาน หรือ ฟิสิกส์พลังงานสูง เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาชนิดและสมบัติของอนุภาคมูลฐาน(ซึ่งอนุภาคเหล่านี้ถือว่าไม่มีองค์ประกอบย่อยอื่นๆอีก)ที่ประกอบขึ้นเป็นสสาร ตลอดจนอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคมูลฐาน โดยทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับว่าใช้อธิบายฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐานได้ดีแม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบคือ แบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) ซึ่งจำแนกอันตรกิริยาพื้นฐานได้เป็น 4 ประเภทคือ อันตรกิริยานิวเคลียร์อย่างเข้ม อันตรกิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อน อันตรกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้าและอันตรกิริยาโน้มถ่วง ในปัจจุบัน งานวิจัยเชิงทฤษฎีระดับแนวหน้าของฟิสิกส์แขนงนี้ จึงเน้นศึกษาส่วนขยายของแบบจำลองมาตรฐานเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่แบบจำลองมาตรฐานยังอธิบายไม่ได้ เช่น มวลของอนุภาคนิวตริโน สสารมืด เป็นต้น

ในด้านการทดลองทางฟิสิกส์อนุภาคสามารถทําได้โดยการเร่งอนุภาค เช่น โปรตอน ให้เคลื่อนที่ด้วยพลังงานสูง ก่อนบังคับให้อนุภาคเหล่านั้นชนกันเพื่อศึกษาคุณสมบัติของอนุภาคทั้งหลายที่กระเจิงออกมา

                              อนุภาคมูลฐานที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน

                          [อนุภาคมูลฐานที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน](<https://th.wikipedia.org/wiki/อนุภาคมูลฐาน>)

หัวข้องานวิจัย

Research topics

ตัวอย่างงานวิจัย

ตัวอย่างงานวิจัยของนักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้

ในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ของ Particle Physics นั้น ถือได้ว่ากว้างมากๆ หลายๆอย่างที่อยู่ในชีวิตประจำวันเราก็ล้วนมาจาก Particle Physics ซึ่งอาจจะสังเกตยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากหน้าที่หลักของ Particle Physics คือการสร้างพื้นฐานให้กับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ การที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมักจะต้องประยุกต์เข้ากับวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมแขนงอื่นๆด้วย

https://s3-us-west-2.amazonaws.com/secure.notion-static.com/cf9c4807-e647-4cc8-ad39-00dc54761a12/Picture2.png